อนุทินครั้งที่ 6

อนุทินครั้งที่ 6

องค์ความรู้ที่ได้รับ........ รู้ถึงหลักโครงสร้างในการเริ่มทำร้านค้าออนไลน์และขั้นตอนในการทำร้านค้าออนไลน์ ว่าเราจะต้องทำอะไรอย่างไง  ก่อนอื่นเราก็จะต้องคิดก่อนว่าจะขายอะไรผ่าน E-Commerce โดยสำรวจตัวเองเพื่อหาจุดอ่อน/จุดแข็งของสิ่งต่างๆ เช่น ต้นทุน สินค้า การบริการและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ และก็สำรวจตลาด เพื่อดูความต้องการของตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ราคาที่เหมาะสม และพฤติกรรมของผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมาย สำรวจคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่างทั้งในด้านสินค้าและการบริการ หรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการขาย สำรวจศักยภาพทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงเเข่งขันในด้านต่างๆ เช่น ระบบสั่งซื้อ, ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ, ระบบการชำระเงิน, ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น และเมื่อเราได้ข้อมูลในการสำรวจแล้วเราก็จะมาเริ่มทำเว็บไซต์โดยจะมีขั้นตอนในการทำต่อไปนี้
1.กำหนดเป้าหมาย / กำหนดวัตถุประสงค์
2.วางเเผน
3.เริ่มเข้าสู่การออนไลน์
4.เริ่มต้นทำเว็บไซต์
5.จัดการและบริหารเว็บไซต์
6.Search Engines Marketing
7.เครื่องมือวัดสถิติ

1.กำหนดเป้าหมายในการทำ คุณทำเว็บไปทำไม?
•กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน การจัดทำเว็บไซด์นั้นเพื่อรองรับอะไรบ้าง และจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย เช่น
   – ทำให้คนอื่นๆ รู้จักคุณ
   – เพื่อขายสินค้าและบริการของคุณ
   – เพื่อสำหรับช่วยเหลือและบริการหลังการขายกับลูกค้า
   – ให้ข้อมูลสินค้าและไว้สำหรับเป็นช่องทางในการติดต่อ
   – ทำตามกระแสนิยมเป็นแฟชั่น

2. วางแผน
•สินค้า
   –ต้องกำหนดสินค้าหรือบริการ หรือทิศทางในการนำเสนอสินค้าก่อนว่าเป็นสินค้า หรือบริการประเภทอะไรบ้าง เช่น สินค้าหัตถกรรม เครื่องเพชรพลอย หรือ เครื่องเงิน
•ทำการวิจัยการตลาด เพื่อหาลู่ทางและโอกาสทางการตลาด
•ใครคือลูกค้าของคุณ ??
•ลูกค้าต่างประเทศ ลูกค้าในประเทศ
•ผู้ใหญ่, เด็ก, ผู้ชาย, ผู้หญิง
•วางแผนกลลยุทธ์และกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ –ส่วนหน้าร้าน(Font End) เช่น การทำรูปแบบหน้าตาของเว็บไซต์การจัดทำเพื่อบอกรายละเอียดข้อมูลของสินค้าที่ต้องการขาย การตั้งชื่อโดเมนเนม –ส่วนหลังร้าน(Back End) เช่น จัดเตรียมวิธีการส่งสินค้า จัดเตรียมวิธีการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า และจัดเตรียมวิธีการให้บริการหลังการขาย
•กำหนดขั้นตอนในการทำงาน,อุปสรรค์ในการทำงาน และวันที่เสร็จ (Deadlines)
•การวิเคราะห์สถานการณ์
•ทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน และภายนอก
•ทำการวิเคราะห์ SWOT คือ การวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคขององค์กรหรือธุรกิจ

3.เริ่มเข้าสู่การออนไลน์
•เลือกโดเมนเนมของเว็บไซต์คุณ .com .net .org
•เลือก Hosting ที่เก็บเว็บไซต์คุณ
•สามารถเข้าได้รวดเร็ว
•ราคา, การSupport, ขนาดของพื้นที่ Free Hosting. www.Thai.net, www.geocities.com มีเจ้าหน้าที่และทีมงานที่พร้อมช่วยเหลือ
•ทาการประชาสัมพันธ์ โฆษณา

4.เริ่มต้นทำเว็บไซต์
•การเริ่มต้นพัฒนา Web Site มีหลายแนวทางได้แก่
 –พัฒนาด้วยตัวเอง, จ้างผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนา, ใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป
•ดูเรียบง่ายแต่ใช้งานได้ดี เข้าใจง่าย
 –เช่น Google, Yahoo
 –ความซับซ้อนของแต่ละเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเว็บของคุณ
•วางแผนการใส่ข้อมูลในเว็บ
 –ทำอย่างไรจะทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์ ใหม่ สด สะอาด อยู่เสมอ

   การออกแบบเว็บไซต์ E-Commerce ที่ดีต้อง
•ใช้รูปภาพสินค้าจริง ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป (อาจะมีให้เลือกหลายมุม หรือเทียบสัดส่วน, ใช้เทคนิคพิเศษช่วย)
•แบ่งหมวดหมู่สินค้าที่ชัดเจน ดูง่าย
•เว็บไซต์โหลดเร็ว หน้าไม่ยาวจนเกินไป
•มี FAQ และ Help ช่วยลูกค้า
•ให้ข้อมูลผู้ขายให้ละเอียด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
•อย่าพยายามเอาทุกอย่างใส่ในหน้าแรก(HomePage)
•ทดสอบกับหลายๆ Browser (IE,Firefox,Netscape)
•ระวังเรื่องขนาดหน้าจอ (800x600 = 48%, 1024x768 = 47% จาก Truehits)
•ควรใช้สีแบ็กกราวด์สีขาว ตัวหนังสือสีดำ (ถ้าเป็นสีอื่นควรอ่านง่าย สบายตา)
•ควรใช้สี 3-4 สีภายในเว็บ (หากมากไปจะดูลิเกจนเกินไป)
•โลโก้ ควร “เข้า” กับตัวเว็บไซต์ไม่โดนเกินไป
•ข้อมูลสด ครบถ้วน สะกดถูกต้อง (เลือกสินค้าที่น่าสนใจไว้ในหน้าแรก)
•วางตำแหน่ง “จุดขาย” ให้ชัดเจน
•มีระบบนาทางที่ดี (Menu & Navigation)

เทคนิคการขายของบนอินเตอร์เน็ตให้ได้ผล
•รู้จัก “ลูกค้า” ของคุณก่อน
•การทำ PR ตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย
•ควรเปิดไว้ในหลายๆ ที่ เปิดหลายๆ สาขา
•ราคาต้องน่าสนใจ
•อัพเดทสมํ่าเสมอ
•สินค้าต้องมีครบ ที่ลูกค้าอยากได้
•สิ่งสินค้าให้ตรงเวลา ที่สัญญาไว้
•ใส่ใจบริการ มากว่าเน้นการขายเพียงอย่างเดียว
•เน้นธุรกิจ มากกว่าเทคโนโลยี
•สร้างธุรกิจหน้าร้าน ผสานธุรกิจออนไลน์

10 วิธีการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณ
1.มีชื่อโดเมนเนม เป็นของคุณเอง
2.หลีกเลี่ยงการใช้เว็บ Hosting ฟรี.!
3.ออกแบบเว็บไซต์ที่ดูน่าเชื่อถือ
4.การนำเสนอข้อมูลภายในเว็บไซต์ที่ใหม่ สดเสมอ
5.แสดงที่อยู่ข้อมูลจริง ที่สามารถติดต่อได้ง่าย
6.อ้างอิงถึงผู้ที่เคยใช้บริการไปแล้ว (Testimonials)
7.การนำผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือให้บริการ ช่วยยืนยันความมีตัวตนและน่าเชื่อถือของเว็บคุณ (Trust.org)
8.การนำรางวัล หรือข่าวสารที่เกี่ยวกับเว็บ หรือบริษัทคุณ มาแสดง
9.อ้างอิงถึงระยะเวลาที่คุณได้เปิดให้บริการมาแล้ว
10.ภายในเว็บไซต์ควรจะสะกดอักษรที่ถูกต้อง

และสิ่งสุดท้ายที่เราต้องคำนึงอยู่เสมอในการจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce ก็คือในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริตในการขายเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อถือและไว้ใจให้แก่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์ของเราเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ที่ดีในภายภาคหน้า


การนำไปประยุกต์ใช้...... สามารถเอาเนื้อหาที่ได้ในครั้งนี้ไปปรับเป็นโครงสร้างของเว็บไซต์ E-Commerce ในธุรกิจของเรา แก้ไข ปรับปรุงและตกแต่งให้เว็บไซต์ของเราดูสวยงาม และก็นำเอาหลักทฤษฎีในเนื้อหามาเป็นแบบเเผนในการทำธุรกิจขายกระเป๋าเพื่อประโยชน์ที่จะตามมาในการค้าขายแบบออนไลน์

สรุป......อาจารย์ก็ได้แนะเเนวถึงโครงสร้างของเว็บไซต์และให้เรากลับไปแก้ไขปรับปรุงและก็นำเอาข้อมูลที่อาจารย์สอนมาเป็นแบบแผนในการจัดทำเว็บไซต์เพื่อให้ได้ผลและประสิทธิภาพที่ดีออกมา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิคส์เพ็ญสินี Copyright © 2012 Design by Ipietoon Blogger Template